วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

คอมพิวเตอร์


คอมพิวเตอร์



แนวข้อสอบวิชา ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

1.พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มีผลบังคับ ใช้เมื่อใด
      - วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

2.การกระแบบใดจึงจะเรียกว่าเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ. ฉบับนี้
      - การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ
      - การเปิดเผยข้อมูลมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ
        การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ
        การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
        การทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ
        การกระทำเพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
        การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์รบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของคนอื่นโดยปกติสุข
        การจำหน่ายชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด
        การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำความผิดอื่น ผู้ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิด
      - การตกแต่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาพของบุคคล

3.ผู้ให้บริการที่ระบุใน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คือบุคคลใดบ้าง
        สำหรับผู้ให้บริการตามที่พ.ร.บ.นี้ได้ระบุไว้ สามารถจำแนกได้เป็น ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
      1. ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมไม่ว่าโดยระบบโทรศัพท์ ระบบดาวเทียม ระบบวงจรเช่าหรือบริการสื่อสารไร้สาย
      2. ผู้ให้บริการการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไม่ว่าโดยอินเทอร์เน็ต ทั้งผ่านสายและไร้สาย หรือในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในที่เรียกว่าอินเทอร์เน็ต ที่จัดตั้งขึ้นในเฉพาะองค์กรหรือหน่วยงาน
      3. ผู้ให้บริการเช่าระบบคอมพิวเตอร์ หรือให้เช่าบริการโปรแกรมประยุกต์ (Host Service Provider)
      4. ผู้ให้บริการข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่าน application ต่างๆ ที่เรียกว่า content provider เช่นผู้ให้บริการ web board หรือ web service เป็นต้น

4.ลิขสิทธิ์ หมายถึง
        ลิขสิทธิ์ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาอย่างหนึ่ง ที่กฎหมายให้ความคุ้มครองโดยให้เจ้าของลิขสิทธิ์ถือสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานสร้างสรรค์ที่ตนได้กระทำขึ้น

5.การกระทำที่ถือว่าถูกกฎหมายทางด้านลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ทำได้อย่างไร
·         ติดตั้งและใช้งานลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ชุดในคอมพิวเตอร์เพียง เครื่องเท่านั้น
·         อย่าทำสำเนาโปรแกรมเพื่อการสำรองมากกว่า สำเนา
·         อย่าให้ผู้ใดขอยืมซอฟต์แวร์ของท่านไป






6.นักศึกษาทราบได้อย่างไรว่าซอฟแวร์ที่ใช้มีลิขสิทธิ์ถูกต้องหรือไม่
      เมื่อท่านซื้อซอฟต์แวร์มาใช้งาน ท่านควรได้รับใบอนุญาตการใช้งานซึ่งระบุสิทธิที่เจ้าของลิขสิทธิ์อนุญาตให้ท่านใช้งานซอฟต์แวร์เหล่านี้ได้ รวมทั้งระบุขอบข่ายของการใช้งานอีกด้วย เช่น ซอฟต์แวร์บางประเภทอาจอนุญาตให้ท่านใช้งานสำเนาที่สองสำหรับการทำงานที่บ้านได้ท่านควรอ่านเอกสาร เหล่านี้ให้ละเอียดเพื่อประโยชน์ของท่านเอง และเก็บเอกสารเหล่านี้ไว้เป็นหลักฐานในการมีลิขสิทธิ์ที่ถูกต้องเสมอ
ข้อสังเกตของซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์
·         ซอฟต์แวร์ราคาถูกจนไม่น่าเชื่อ
·         โปรแกรมนั้นอยู่ในแผ่น CD-ROM ที่บรรจุซอฟต์แวร์หลายชนิดซึ่งมักเป็นผลงานจากผู้ผลิตซอฟต์แวร์หลายบริษัท
·         ซอฟต์แวร์จำหน่ายโดยบรรจุในกล่องพลาสติกใสโดยไม่มีกล่องบรรจุภัณฑ์
·         ไม่มีเอกสารอนุญาตการใช้งาน หรือคู่มือการใช้งาน

7.สิทธิบัตร (patent) หมายถึง
        หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่มีลักษณะตามที่กำหนดในกฎหมา ที่เกี่ยวกับการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบ เพื่อให้ได้สิ่งของ,เครื่องใช้หรือสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น การประดิษฐ์รถยนต์, โทรทัศน์, คอมพิวเตอร์

8.ประเภทของสิทธิบัตร
        รูปแบบหรือประเภทของสิทธิบัตรตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตรจะมีอยู่ 3 ประเภท คือ
1.      สิทธิบัตรการประดิษฐ์ หมายถึง การคิดค้นเกี่ยวกับ กลไก โครงสร้าง ส่วนประกอบ ของสิ่งของเครื่องใช้ เช่น กลไกของกล้องถ่ายรูป
2.      สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ หมายถึง การออกแบบรูปร่าง ลวดลาย หรือสีสัน ที่มองเห็นได้จากภายนอก เช่น การออกแบบแก้วน้ำให้มีรูปร่างเหมือนรองเท้า เป็นต้น
3.      อนุสิทธิบัตร (Petty patent) เป็นการให้ความคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์คิดค้น เช่นเดียวกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ แต่แตกต่างกันตรงที่การประดิษฐ์ที่จะขอรับอนุสิทธิบัตร เป็นการประดิษฐ์ที่มีเป็นการปรับปรุงเพียงเล็กน้อย และมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้นมากก

9.พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) หมายถึง
      Electronic Commerce หรือ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจที่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริหาร การโฆษณาสินค้า การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น จุดเด่นของ E-Commerce คือ ประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่ม ประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ โดยลดความสำคัญขององค์ประกอบของธุรกิจที่มองเห็นจับต้องได้ เช่นอาคารที่ทำการ ห้องจัดแสดงสินค้า (show room) คลังสินค้า พนักงานขายและพนักงานให้บริการต้อนรับลูกค้า เป็นต้น ดังนั้นข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์คือ ระยะทางและเวลาทำการแตกต่างกัน จึงไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจอีกต่อไป



10. ข้อดีของการกระทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีดังนี้
1.เปิดดำเนินการค้า 24 ชั่วโมง
2.ดำเนินการค้าอย่างไร้พรมแดนทั่วโลก
3.ใช้งบประมาณลงทุนน้อย
4.ตัดปัญหาด้านการเดินทาง
5.ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์โดย สามารถประชาสัมพันธ์ได้ทั่วโลก

11. อาชญากรทางคอมพิวเตอร์ ได้แก่
      1. พวกเด็กหัดใหม่ (Novice)
      2. พวกวิกลจริต (Deranged persons)
      3. อาชญากรที่รวมกลุ่มกระทำผิด (Organized crime)
      4. อาชญากรอาชีพ (Career)
      5. พวกหัวพัฒนา มีความก้าวหน้า (Con artists)
      6. พวกคลั่งลัทธิ(Dreamer) / พวกช่างคิดช่างฝัน(Ideologues)
      7. ผู้ที่มีความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์อย่างดี (Hacker/Cracker )

12. ปัจจุบันทั่วโลก ได้จำแนกประเภทของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ได้ ประเภท (ตามข้อมูลคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจร่างกฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์) คือ
      1. การขโมยข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต รวมถึงการขโมยประโยชน์ในการลักลอบใช้บริการ
      2. การปกปิดความผิดของตัวเอง โดยใช้ระบบการสื่อสาร
      3. การละเมิดลิขสิทธิ์ ปลอมแปลงรูปแบบเลียนแบระบบซอฟแวร์โดยมิชอบ
      4. การเผยแพร่ภาพ เสียง ลามก อนาจาร และข้อมูลที่ไม่เหมาะสม
      5. การฟอกเงิน
      6. การก่อกวน ระบบคอมพิวเตอร์ เช่น ทำลายระบบสาธารณูปโภค เช่น ระบบจ่ายน้ำ จ่ายไฟ จราจร
      7. การหลอกลวงให้ร่วมค้าขาย หรือ ลงทุนปลอม (การทำธุรกิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย)
      8. การลักลอบใช้ข้อมูลเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ในทางมิชอบเช่น การขโมยรหัสบัตรเครดิต
      9. การใช้คอมพิวเตอร์ในการโอนบัญชีผู้อื่นเป็นของตัวเอง

13. อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น ลักษณะ คือ
      1. การเจาะระบบรักษาความปลอดภัย ทางกายภาพ ได้แก่ ตัวอาคาร อุปกรณ์และสื่อต่างๆ
      2. การเจาะเข้าไปในระบบสื่อสาร และการ รักษาความปลอดภัยของซอฟต์แวร์ข้อมูลต่างๆ
      3. เป็นการเจาะเข้าสู่ระบบรักษาความปลอดภัย ของระบบปฏิบัติการ (Operating System)
4. เป็นการเจาะผ่านระบบรักษาความปลอดภัยส่วนบุคคล โดยใช้อินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางในการกระทำความผิด

14. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจคือ
      เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดการ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างตัวแบบที่ซับซ้อน ภายใต้ซอฟต์แวร์เดียวกัน นอกจากนั้น DSS ยังเป็นการประสานการทำงานระหว่างบุคลากรกับเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์ โดยเป็นการกระทำโต้ตอบกัน เพื่อแก้ปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง และอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ใช้ตั้งแต่เริ่มต้นถึงสิ้นสุด

15. คุณสมบัติของ DSS มีดังนี้
                1. ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน เนื่องจากผู้ใช้อาจมีทักษะทางสารสนเทศที่จำกัด ตลอดจน
        ความเร่งด่วนในการใช้งานและความต้องการของปัญหา ทำให้ DSS ต้องมีความสะดวกต่อผู้ใช้
            2. สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ โดยที่ DSS ที่ดีต้องสามารถ
        สื่อสารกับผู้ใช้อย่างฉับพลัน โดยตอบสนองความต้องการและโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ทันเวลา โดยเฉพาะ
        ในสถานการณ์ปัจจุบัน ที่ต้องการความรวดเร็วในการแก้ปัญหา
            3. มีข้อมูล และแบบจำลองสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจที่เหมาะสมและสอดคล้องกับ
        ลักษณะของปัญหา
            4. สนับสนุนการตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง ซึ่งแตกต่างจากระบบ
        สารสนเทศสำหรับปฏิบัติ งานที่จัดการข้อมูลสำหรับงานประจำวันเท่านั้น
            5. มีความยืดหยุ่นที่จะสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้ใช้ เนื่องจากลักษณะของ
        ปัญหาที่มีความไม่แน่นอน และเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ นอกจากนี้ผู้จัดการจะเผชิญหน้ากับ
        ปัญหา ที่มีความไม่แน่นอนและเปลี่ยนแปลงทางสถานการณ์ นอกจากนี้ผู้จัดการจะเผชิญกับปัญหา
        ในหลายลักษณะจึงต้องการระบบสารสนเทศที่ช่วยจัดรูปข้อมูลที่ไม่ซับซ้อนและง่ายต่อการตัดสินใจ

16. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Information Systems) หรือที่เรียกว่าEIS หมายถึง
        หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ ทักษะและความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศสำหรับ ผู้บริหาร

17. ระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence: AI) หมายถึง
        หมายถึง เครื่องจักรอัจฉริยะที่สร้างจากความรู้ทางด้าน วิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความฉลาดทางด้านโปรแกรม คอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นในลักษณะการใช้คอมพิวเตอร์ ให้เรียนรู้และเข้าใจความสามารถของมนุษย์

18. ประโยชน์ของระบบปัญญาประดิษฐ์ คือ
        1. ข้อมูลถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำขององค์กรกลายเป็นฐานความรู้องค์กรที่พนักงานสามารถสืบค้นแลหาคำปรึกษาได้ทุกเวลา
        2. ช่วยสร้างกลไกที่ไม่มีความรู้สึก ความหนี่อยล้า หรือความกังกลมาเป็นองค์ประกอบ
        3. ช่วยนำมาใช้ในงานประจำหรืองานที่น่าเบื่อหน่าย
        4. เพิ่มความสามารถในฐานความรู้ขององค์กรด้วยวิธีเสนอปัญหา ที่มีปริมาณมากหรือความซับซ้อนมาก
19. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System: ES) หมายถึง
        คือ ระบบคอมพิวเตอร์ ที่จำลองการตัดสินใจของมนุษย์ ผู้เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่ง โดยใช้ความรู้และการสรุปเหตุผลเชิงอนุมาน (inference) ในการแก้ปัญหายากๆ ที่ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ

20. ตัวอย่างของระบบ ES ที่นำไปใช้ในงานด้านต่าง ๆ ได้แก่
      diagnosis of faults and diseases, automobile diagnosis, interpretation of data (เช่น sonar signals), mineral exploration, personnel scheduling, computer network management, weather forecasting, stock market prediction, consumer buying advice, diet advice

21. ระบบการประมวลผลรายการ (TPS) มีลักษณะการทำงานอย่างไร
คุณลักษณะของระบบการประมวลผลข้อมูล
1. สามารถจัดเก็บข้อมูลที่เกิดขึ้นประจำวันของการดำเนินธุรกิจได้ เช่น ประวัติลูกค้า รายการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้า
2.  สามารถสร้างข้อมูลเพื่อดำเนินธุรกิจได้ เช่น ออกใบกำกับภาษี ออกใบแจ้งหนี้ ออกใบรายการสินค้า
         3.  บำรุงรักษาข้อมูล (Data Maintenance) โดยการปรับปรุงข้อมูล (เพิ่ม ลบ แก้ไขให้เป็นปัจจุบันมากที่สุดไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า ชื่อที่อยู่ของลูกค้า รหัสสินค้า เป็นต้น

22. ยกตัวอย่างงานที่นำระบบ TPS ไปใช้ มา ข้อ
        1การลงเวลาตอกบัตร
        2.  รับชำระค่าสินค้า
        3.  บันทึกยอดขายประจำวัน
        4.  ออกใบเสร็จ

23. จงบอกประโยชน์ของระบบ EIS มา ข้อ
1. ด้านคุณภาพของข่าวสาร
2. มีระบบการโต้ตอบกับผู้ใช้
3. จัดเตรียมเทคนิคที่มีประสิทธิภาพสำหรับจัดการกับข่าวสาร
4. เอื้อประโยชน์ต่อการทำงานขององค์กรในด้านต่าง ๆ 

24. จงบอกประเภทของระบบ AI
      1.การประมวลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing)
      2.ระบบภาพ (Vision System)
      3.ระบบเครือข่ายเส้นประสาท (Natural Networks)
      4.หุ่นยนต์ (Robotics)
      5.ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)


25. ระบบ OIS สามารถจัดแบ่งได้กี่ประเภท
m) แบ่งได้ ประเภท
1.   ระบบการจัดการเอกสาร (Document management system)
2.   ระบบการจัดการข่าวสาร (Message-handling systems)
3.   ระบบประชุมทางไกล (Teleconferencing system)
4. ระบบสนับสนุนสำนักงาน (Office support systems)

26. จงบอกข้อแตกต่างระหว่าง M-Commerce กับ E-Commerce
        1.ทั้ง E-Commerce และ M-Commerce ต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
        2. E-Commerce  เป็นการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำการค้าบนเว็บไซต์ของเครื่องคอมพิวเตอร์
        3. M-Commerce  เป็นการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำการค้าบนโทรศัพท์มือถือ
        4.การค้าแบบ M-Commerce สามารถทำการสั่งซื้อสินค้าได้สะดวกสบายกว่า E-Commerce

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น