วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

นายก

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร




นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 


นายกรัฐมนตรี 


วัน/เดือน/ปีเกิด: 21 มิถุนายน 2510


พรรค: ส.ส.บัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 พรรคเพื่อไทย


การศึกษามัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย มัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สาขาวิชารัฐศาสตร์ (สิงห์ขาวรุ่น 21)เมื่อปี พ.ศ.2531และระดับปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเคนทักกีสเตต สหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ.2533


ครอบครัวเป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวน 10 คน ของนายเลิศ และนางยินดี ชินวัตร (ธิดาในเจ้าหญิงจันทร์ทิพย์ (ณ เชียงใหม่) ระมิงค์วงศ์) เคยติดตามเลิศ ชินวัตร บิดา หาเสียงในตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และเยาวลักษณ์ ชินวัตร พี่สาว เมื่อครั้งเป็นนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่


สมรสโดยไม่ได้จดทะเบียนกับนายอนุสรณ์ อมรฉัตร อดีตผู้บริหารในเครือบริษัท ซีพี อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และอดีตกรรมการผู้อำนวยการบริษัท เอ็ม ลิงก์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดย มีบุตรชายหนึ่งคน ชื่อ ด.ช.ศุภเสกข์ อมรฉัตร หรือ น้องไปป์


สายสัมพันธ์ทางการเมือง:น้องสาว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ,เยาวลักษณ์ ชินวัตร (อดีตนายเทศมนตรีนครเชียงใหม่)และเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ (ภรรยานายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี)


ประสบการณ์การทำงานพ.ศ.2534 ทำงานที่บริษัท ชินวัตร ไดเร็กทอรี่ส์ จำกัด (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทเทเลอินโฟ มีเดีย จำกัด มหาชน)ในตำแหน่งพนักงานฝึกหัดด้านการตลาดและการขาย หลังจากนั้นในปีเดียวกันเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อกระทั่งเข้าสู่ตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายผลิต      


       พ.ศ.2537เป็นผู้จัดการทั่วไปของบริษัทโฆษณา เรนโบว์ มีเดีย ซึ่งเดิมเป็นแผนกงานหนึ่งของบริษัท ไอบีซี อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น หรือ ทรูวิชั่นส์ ตำแหน่งสุดท้ายก่อนลาออกจากบริษัทไอบีซีฯ คือตำแหน่งรองกรรมการผู้อำนวยการ


        พ.ศ.2545เข้าสู่แวดวงธุรกิจเครือข่ายโทรศัพท์และการสื่อสาร ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และรองกรรมการผู้อำนวยการสายงานตลาด บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ในเครือบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)(ชินคอร์ป)โดยได้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารบริษัท เป็นตำแหน่งสุดท้ายหลังจากตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ปให้แก่เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ของรัฐบาลสิงคโปร์ ยิ่งลักษณ์ลาออกจากตำแหน่งในเอไอเอส โดยก่อนหน้านั้นเธอได้ขายหุ้นที่ถืออยู่ในมือทั้งหมดตั้งแต่ปลาย พ.ศ.2548เพื่อบริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ คือบริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)ซึ่งเป็นธุรกิจในเครือของตระกูล ดูแลพอร์ตการลงทุนพัฒนาที่ดินทั้งหมดแทนนางบุษบา ดามาพงศ์ นอกจากนี้ ยังดำรงตำแหน่งกรรมการและเลขานุการมูลนิธิไทยคม และเคยดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารของสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีอีกด้วย



ประสบการณ์ด้านการเมืองนับตั้งแต่ได้มีการก่อตั้งพรรคเพื่อไทย นางสาวยิ่งลักษณ์ได้กลายมาเป็นตัวเลือกแรกของ พ.ต.ท.ทักษิณที่จะให้เป็นหัวหน้าพรรค อย่างไรก็ตาม นางสาวยิ่งลักษณ์ได้ปฏิเสธตำแหน่งโดยกล่าวว่าตนไม่เคยต้องการจะเป็นนายกรัฐมนตรีและเพียงต้องการแต่สนใจทำธุรกิจของตนเท่านั้น เธอกล่าวว่าเธอเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองเป็นบางครั้งเฉพาะเมื่อทางพรรคส่งจดหมายเชิญเท่านั้น แต่หลังจากพรรคเพื่อไทยประสบชะตากรรมในการคัดสรรบุคคลซึ่งจะมาดำรงตำแหน่งเบอร์หนึ่งนำมาสู่กระแสข่าวความขัดแย้งของคนในพรรค ที่ประชุมพรรคเพื่อไทยจึงมีมติเลือกนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อในลำดับที่ 1 เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เพื่อชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในการเลือกตั้งทั่วไปวันที่ ในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554



นางสาวยิ่งลักษณ์ ให้สัมภาษณ์ถึงแนวทางการทำงานการเมืองของตนว่า “พรรคเพื่อไทยจะไม่แก้แค้น แต่จะแก้ไข” พร้อมระบุถึงการออก พ.ร.บ.อภัยโทษหรือการนิรโทษกรรมที่เสนอโดย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ว่า


 "เป็นเพียงหลักและวิธีการ โดยหลักของส่วนนี้ต้องมาดูว่าจะได้อะไร และต้องมีคณะกรรมการทำหน้าที่พิจารณา โดยมี ร.ต.อ.เฉลิม เป็นหัวเรือ”(ข้อมูลจากวิกิพีเดีย)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น